น้ำทะเลแดงฉานไปด้วยเลือดของเหล่าปลาโลมาที่ถูกต้อนไปสังหารหมู่
สารคดีตามติด Ric O'Barry อดีตนักฝึกปลาโลมาชื่อก้อง ผู้ผันตัวมาเป็นนักอนุรักษ์ปลาโลมาตัวยง ที่ได้ตัดสินใจเข้าไปถ่ายทำสารคดีตีแผ่การล่าและสังหารปลาโลมาที่เมืองไทจิ จังหวัด วาคายามะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งว่ากันว่าที่นี่มีการจับปลาโลมาจำนวนมากแล้วก็เลือกเอาตัวที่หน่วยก้านดีไปฝึกเพื่อส่งขายให้กับเหล่าสวนน้ำทั่วโลก ส่วนพวกที่เหลือก็จะถูกต้อนไปสังหารเรียบเพื่อเอาเนื้อ โดยเฉลี่ยแล้วมีปลาโลมาที่ถูกสังหารปีละกว่า 23,000 ตัว เป็นอย่างน้อยเลยทีเดียว ที่น่าแปลกใจคือมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้น(แม้แต่กับคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ตามที) สถานที่ก่อวีรเวรที่คนภายนอกห้ามเข้าโดยเด็ดขาด(ใครเข้าเจอดี)
แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีคนที่พยายามหยุดยั้งหรือตีแผ่ถึงความจริงอันโหดร้ายนี้ ทั้งกรีนพีซ หรือนักข่าวต่างชาติล้วนพยายามกันแล้วแต่ก็คว้าน้ำเหลวกลับไปหมด เพราะสถานที่แห่งนี้มีการรักษาความปลอดภัยจากชาวประมงท้องถิ่นอย่างรัดกุม ซึ่งพวกนี้อาจจะได้รับการให้ท้ายอย่างเงียบๆ จากทางรัฐบาลอีกต่างหาก(เพราะการล่าปลาโลมาสร้างเม็ดเงินให้อย่างมหาศาล) มันจึงเป็นเรื่องยากที่คนนอกโดยเฉพาะชาวต่างชาติเช่นเขาจะย่างกรายเข้าไปได้ ว่าแล้วเขาจึงรวบรวมทีมงานเฉพาะกิจ ที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เช่น นักดำน้ำ, นักผจญภัย, ผู้เชี่ยวชาญด้านสปายแคม ฯลฯ ซึ่งขนเอาอุปกรณ์ที่พวกสายลับเขาใช้กันมาแบบเต็มเหนี่ยว ในปฏิบัติการลับที่พวกเขาอาจมีโอกาสแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะถ้าพวกเขาพลาด โอกาสที่จะถ่ายทำสารคดีตีแผ่ครั้งนี้คงจะสิ้นสุดลงทันที
ทีมสารคดีต้องพลางตัวพลางกล้องอย่างกับเป็นสายลับ
ผกก.Louie Psihoyos ตามติดสถานการณ์ตั้งแต่เริ่มจนจบได้อย่างครบถ้วน แถมยังมีชั้นเชิงในการเล่าเรื่องที่ชวนติดตาม ดนตรีประกอบก็อย่างกับมาจากหนังฮอลลีวู้ด จนทำให้ปฏิบัติการลับที่น่าตื่นเต้นอยู่แล้วครั้งนี้ดูตื่นเต้นขึ้นไปอีกโข เล่นเอาคนดูแทบจะลืมไปเลยว่ากำลังดูสารคดีอยู่ เพราะมีครบทุกอารมณ์ ทั้งตื่นเต้น ลุ้นระทึก เศร้า ประชดประชันแบบตลกร้าย แต่ก็มีความหวังอยู่ในที ถึงแม้อาจจะมีข้อด้อยอยู่บ้างในการนำเสนอจากมุมมองของคนนอกด้านเดียว และเสนอภาพลักษณ์ของชาวประมงท้องถิ่นอย่างผิวเผินไปบ้าง (พวกนี้มาในมาดตัวโกงสุดกวนส้นทีน) แต่เท่านี้สารคดีก็สามารถตีแผ่ความจริงอันแสนโหดร้ายครั้งนี้ได้อย่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋(ไปด้วยเลือดของปลาโลมา) ซึ่งสามารถกระตุ้นทุกฝ่ายให้หันมาตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง เป็นสารคดีชั้นเยี่ยมที่คู่ควรกับออสก้าร์ และทุกคนควรจะมีโอกาสได้ดูกันนะครับ
เหล่าทีมสารคดีที่เกณฑ์กันมาแบบเฉพาะกิจ
ในสารคดีมีฉากหนึ่งที่กล่าวถึงการบริโภคปลาโลมา ที่ชาวญี่ปุ่นบางคนออกมาแก้ต่างว่า "ไม่เห็นจะแปลกเลย ทีชาวตะวันตก(ฝรั่ง) ยังเลี้ยงวัวไว้กิน เราชาวญี่ปุ่นก็กินโลมา มันเป็นเรื่องของวิถีทางของคนชาติใครชาติมันดิ" ซึ่งก็คงจะฟังขึ้นอยู่หรอกนะเพ่ เพราะถ้าจะถามคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้ว เขาบอกว่า ไม่คิดจะกินปลาโลมากันหรอก แถมเนื้อของปลาโลมาในแถบนั้นยังเต็มไปด้วยสารปรอทอีกต่างหาก อันตรายถึงชีวิตเชียวนะนั่น และช่างเป็นภาพที่น่าเย้ยหยันจริงๆ ที่ในเมืองไทจินี้ บ้านเมืองล้วนตกแต่งประดับประดาไปด้วยรูปของปลาโลมา จนทำให้คิดว่าพวกเขาคงจะรักปลาโลมากันดี ซึ่งก็ขัดกันอย่างสิ้นเชิงกับฉากฆ่าหมู่ปลาโลมา ที่เหล่าชาวประมงเอาฉมวกจ้วงแทงฝูงปลาโลมาที่ถูกขังในอวนอย่างเฮฮาสนุกสนานจนน้ำทะเลตรงนั้นแดงฉานไปด้วยเลือดของโลมา ซึ่งเห็นแล้วก็อดหดหู่ใจเสียไม่ได้ ที่มนุษย์เราเนี่ยยังคงหาเรื่องโหดร้ายทำกันได้อยู่เสมอ แม้กับสัตว์ที่ไม่มีพิษมีภัย ไม่มีทางสู้ แถมยังฉลาดไม่น้อยไปกว่าคนเรา(บางคน)สักเท่าไหร่เช่นนี้
รีบอนุรักษ์ไว้ก่อนที่จะไม่มีแบบนี้ให้ลูกหลานได้เห็นอีก
- + เป็นสารคดีตีแผ่ความจริง ที่ทำให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงชะตากรรมของปลาโลมา ที่ทำได้อย่างยอดเยี่ยม เล่าเรื่องอย่างน่าติดตาม ทุกคนควรจะมีโอกาสได้ชมกันนะ
- - ก็บอกแล้วว่าทุกคนควรจะมีโอกาสได้ชมกันไง(อิอิ)
*ช่วงอันเนื่องมาจากหนัง*
Ric O'Barry หัวหน้าปฏิบัติการลับครั้งนี้
หลายคนคงอยากจะรู้ว่าหัวหน้าปฏิบัติการลับครั้งนี้ที่ชื่อ Ric O'Barry เป็นใครกัน ทำไมถึงได้หันมาเป็นนักอนุรักษ์ปลาโลมาตัวยงได้ เราจึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้แนะนำเรื่องของเขาแบบคร่าวๆ ดังนี้
Ric O'Barry (69 ขวบ) เป็นชาวอเมริกันที่เริ่มมีชื่อเสียงในยุค 60 เพราะสามารถจับปลาโลมา 5 ตัวมาฝึกสำเร็จ โดยใช้แสดงหนังทีวี 'Flipper โลมาแสนรู้' ที่ฮิตซะ จนคนทั้งโลกหันมานิยมดูปลาโลมาแสดงในสวนน้ำกัน แต่ต่อมาเมื่อหนึ่งในปลาโลมาเหล่านั้นที่ชื่อ Cathy ได้ตายในอ้อมแขนของเขา ซึ่งเขาได้เล่าให้ฟังว่า"มันกลั้นใจตาย เพราะเหลือทนกับชีวิตที่ถูกกักขังเช่นนี้" เขาจึงตระหนักว่าตนได้เป็นต้นเหตุให้เกิดธุรกิจค้าปลาโลมาที่จะสร้างวิบากกรรมแก่โลมานับล้านชีวิตในภายหน้าขึ้นมา นับตั้งแต่นั้นเขาจึงได้กลายเป็นนักอนุรักษ์ปลาโลมา ที่มุ่งมั่นในการปลดปล่อยปลาโลมาที่ถูกจับไปกักขังหน่วงเหนี่ยวทั่วโลก จนเป็นเหตุให้เขาถูกจับกุมปีละหลายครั้ง เพราะชอบดอดไปปล่อยปลาโลมาของชาวบ้านเป็นประจำ
และในสารคดีเรื่อง The Cove นี้ เขาก็หวังว่าเมื่อหนังได้ออกฉายในวงกว้าง ก็จะสามารถกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้คนส่วนใหญ่ให้หันมาตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้ และยื่นมือเข้าช่วยเหลือปลาโลมาที่ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวในที่ต่างๆ ทั่วโลกต่อไปในอนาคต สู้เขานะลุง
Ric O'Barry (69 ขวบ) เป็นชาวอเมริกันที่เริ่มมีชื่อเสียงในยุค 60 เพราะสามารถจับปลาโลมา 5 ตัวมาฝึกสำเร็จ โดยใช้แสดงหนังทีวี 'Flipper โลมาแสนรู้' ที่ฮิตซะ จนคนทั้งโลกหันมานิยมดูปลาโลมาแสดงในสวนน้ำกัน แต่ต่อมาเมื่อหนึ่งในปลาโลมาเหล่านั้นที่ชื่อ Cathy ได้ตายในอ้อมแขนของเขา ซึ่งเขาได้เล่าให้ฟังว่า"มันกลั้นใจตาย เพราะเหลือทนกับชีวิตที่ถูกกักขังเช่นนี้" เขาจึงตระหนักว่าตนได้เป็นต้นเหตุให้เกิดธุรกิจค้าปลาโลมาที่จะสร้างวิบากกรรมแก่โลมานับล้านชีวิตในภายหน้าขึ้นมา นับตั้งแต่นั้นเขาจึงได้กลายเป็นนักอนุรักษ์ปลาโลมา ที่มุ่งมั่นในการปลดปล่อยปลาโลมาที่ถูกจับไปกักขังหน่วงเหนี่ยวทั่วโลก จนเป็นเหตุให้เขาถูกจับกุมปีละหลายครั้ง เพราะชอบดอดไปปล่อยปลาโลมาของชาวบ้านเป็นประจำ
และในสารคดีเรื่อง The Cove นี้ เขาก็หวังว่าเมื่อหนังได้ออกฉายในวงกว้าง ก็จะสามารถกระตุ้นจิตสำนึกแก่ผู้คนส่วนใหญ่ให้หันมาตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้ และยื่นมือเข้าช่วยเหลือปลาโลมาที่ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวในที่ต่างๆ ทั่วโลกต่อไปในอนาคต สู้เขานะลุง
*คัดข้อมูลแบบคร่าวๆ จาก wikipedia*
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น