The Thing (2011) :
ในยุคที่ฮอลลีวู้ดนิยมนำหนังสยองขวัญขึ้นหิ้งมารีเมคเช่นนี้ เราจึงได้ดูหนังรีเมคเรื่องแล้วเรื่องเล่าซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาแบบเสียของดูแล้วเสียเส้น และแล้วก็มาถึงคิวของ The Thing (1982) บ้างในที่สุด ซึ่งก็ยังดีหน่อยที่ผู้สร้างถือคติที่ว่าไม่ควรจะเล่นหิ้ง เพราะหิ้งไม่ได้มีไว้ให้เล่น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นคนต่อหิ้งนั้นขึ้นมาเอง ก็เลยไม่ขอรีเมคแต่ขอย้อนไปเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหนังเวอร์ชั่นปี 1982 แทนซะเลย (แล้วก็ขอยืมชื่อมาใช้ให้เหมือนกันเท่านั้น)
ในยุคที่ฮอลลีวู้ดนิยมนำหนังสยองขวัญขึ้นหิ้งมารีเมคเช่นนี้ เราจึงได้ดูหนังรีเมคเรื่องแล้วเรื่องเล่าซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาแบบเสียของดูแล้วเสียเส้น และแล้วก็มาถึงคิวของ The Thing (1982) บ้างในที่สุด ซึ่งก็ยังดีหน่อยที่ผู้สร้างถือคติที่ว่าไม่ควรจะเล่นหิ้ง เพราะหิ้งไม่ได้มีไว้ให้เล่น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นคนต่อหิ้งนั้นขึ้นมาเอง ก็เลยไม่ขอรีเมคแต่ขอย้อนไปเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหนังเวอร์ชั่นปี 1982 แทนซะเลย (แล้วก็ขอยืมชื่อมาใช้ให้เหมือนกันเท่านั้น)
สยองแบบเย็นยะเยือกกันล่ะงานนี้
ในปี ค.ศ.1982 Kate Lloyd (Mary Elizabeth Winstead จาก Scott Pilgrim vs. the World [2010]) นักบรรพชีวินวิทยา (ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์) สาวสวยชาวมะกันถูกทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ชักชวนให้หนีตามไปยังทวีปแอนตาร์กติก้า เพราะพวกเขาบอกว่าค้นพบของดีเข้าให้ และเมื่อเธอไปถึงก็พบว่า พวกนั้นค้นพบยานอวกาศขนาดยักษ์และซากสิ่งมีชีวิตต่างดาวถูกแช่แข็งอยู่ จึงได้พามันกลับไปศึกษายังฐาน ก่อนจะพบว่าเฮ้ยมันยังไม่ตายนี่หว่า และได้ออกอาละวาดเขมือบพวกเขาทีละคนจนสยองแตกลืมหนาวไปตามๆ กันเลยเชียวงานนี้
ปืนไฟคือไอเท็มเทพของหนังเรื่องนี้
นับเป็นความคิดที่ดีในการหลีกเลี่ยงการรีเมคแล้วหันไปเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหนังเวอร์ชั่น 1982 (หรือที่เรียกว่า prequel) เพราะไม่ต้องเสี่ยงต่อการโดนแฟนหนังเดนตายด่าและรู้ดีว่าทำยังไงก็ไม่ดีเท่าต้นฉบับอยู่แล้ว แต่หนังก็ยังอิงรูปแบบ รายละเอียดเรื่องราวให้เชื่อมโยงกับหนังเวอร์ชั่นปี '82 อยู่อย่างเคร่งครัด ชนิดที่ว่าดูเวอร์ชั่น 2011 จบก็เปิดดูเวอร์ชั่นปี '82 ต่อได้เลยแบบเนียนๆ ไม่สะดุดอารมณ์แต่ประการใดหรือหนุ่มคนนี้กำลังมาแรง?
Matthijs van Heijningen Jr. ผกก.ชาวดัตช์สอบผ่านด้วยดีในผลงานหนังใหญ่เรื่องแรกของเขานี้ เพราะสามารถสร้างอารมณ์สยองแบบไม่เร่งเร้าแต่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ ได้อย่างชวนลุ้น นอกจากนั้นยังเล่นประเด็นความหวาดผวาชวนสงสัยที่ต่างคนต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเหมือนเวอร์ชั่นต้นฉบับได้ดี เมื่อมาเจองานเอฟเฟกต์ซีจีสมัยใหม่ที่เนียนตา เลยทำให้เวอร์ชั่นปี 2011 นี้เป็นหนังไซไฟสยองที่เข้าท่าเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว
นางเอกเราทั้งฉลาดสวยแกร่งครบสูตร
แต่ว่าช่วงท้ายๆ เนี่ยหนังออกจะลดความระทึกลงไปหน่อย และสำหรับหลายคนที่เคยดูเวอร์ชั่นปี '82 มาก่อนย่อมจะรู้จุดจบของหนังดีอยู่แล้ว ก็เลยอาจจะทำให้ไม่ค่อยมีลุ้นเท่าไหร่ แต่ว่าก็ว่าเหอะไอ้เอเลี่ยนพันธุ์นี้ทั้งดุร้ายและหน้าตาอัปลักษณ์ปานปรสิตเดรัจฉานเช่นนี้ แต่ดันมีวิทยาการก้าวล้ำสามารถสร้างยานอวกาศใหญ่โตปานนั้นซะ (แค่สงสัยน่ะ อิอิ) หรือพวกมันจะเกาะเขามาอีกทีหนอ ใครรู้วานบอกทีจ้า- + เป็นหนังไซไฟสยองภาคก่อนหน้าเวอร์ชั่นปี '82 ที่ทำออกมาสยองมีลุ้นไม่เลวเลยทีเดียว
- - เดินตามขนบเวอร์ชั่นปี '82 เลยไม่มีแง่มุมใหม่ๆ เด็ดๆ มาฝาก
*ช่วงย้อนรอยหนังต้นฉบับ*
The Thing (1982) :
ถึงแม้ช่วงนั้นจะเป็นยุครุ่งเรืองของเจ้าพ่อหนังสยองอย่าง ผกก.John Carpenter แต่หนังเรื่องนี้กลับล้มเหลวทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์อย่างสิ้นเชิง เนื่องด้วยดันฉายในช่วงเวลาเดียวกับหนังซูเปอร์มหาเมก้าฮิตติดดาวอย่าง E.T. the Extra-Terrestrial ของป๋า Steven Spielberg (ซึ่งมองการมาเยือนของเอเลี่ยนแบบแง่บวกสุดๆ) แถมยังดันฉายชนวันเดียวกันกับ Blade Runner ของ ผกก.Ridley Scott อีกต่างหาก (เรื่องนี้ตอนออกฉายก็ล้มเหลวพอๆ กัน) โดยหนังเป็นที่พูดถึงแต่ในแง่เอฟเฟกต์สยองที่ทำได้ดีถึงขนาดได้เข้าชิงออสก้าร์ในสาขาเทคนิคพิเศษแต่สุดท้ายก็แห้วรางวัลให้กับ E.T.อีกตามเคย
แต่พอเวลาผ่านไปหนังกลับค่อยๆ ได้รับคำชื่นชมซูฮกมากขึ้นเรื่อยๆ ยามออกจำหน่ายในแบบโฮมวีดีโอจนกระทั่งขึ้นหิ้งหนังคัลต์คลาสสิกไปซะแล้ว และมีการต่อยอดทำสินค้าที่เกี่ยวกับหนังออกมาจำหน่าย ทั้งหนังสือการ์ตูน นิยาย วีดีโอเกม แอคชั่นฟิกเกอร์ และแม้แต่ธีมปาร์คในในสวนสนุกก็มี
ปัจจุบันหนังได้รับการยกย่องและเป็นอิทธิพลให้กับคนทำหนังรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก รวมทั้งติดโผหนังสยองยอดเยี่ยมของหลายสำนัก อาทิ การติดอันดับที่ 17 ของ 'หนังที่น่ากลัวที่สุด' ที่จัดโดย Chicago Film Critics Association และยังติดโผ '500 หนังยอดเยี่ยมตลอดกาล' ของนิตยสาร Empire อีกด้วย
ซึ่งสำหรับเราแล้วคิดว่าเมื่อมาดูหนังเรื่องนี้ในปัจจุบันก็ยังลุ้นระทึกชนิดเย็นยะเยือกได้อยู่เลย ถึงแม้งานด้านเอฟเฟกต์ยุคนั้นจะยังไม่มีซีจีแต่เอฟเฟกต์ทำมือของปรมาจารย์ด้านนี้อย่าง Rob Bottin และ Stan Winston ก็สามารถสร้างความสยองได้ไม่น้อยหน้าหนังสมัยนี้เลยทีเดียว
เห็นกรณีหนังเรื่องนี้แล้วก็เชื่อได้เลยว่าหนังที่ถูกด่าเปิงเจ๊งกระหน่ำในทุกวันนี้ ในอนาคตอาจจะค่อยๆ ได้รับการยอมรับ คำชื่นชมมากขึ้นๆ จนขึ้นหิ้งหนังคลาสสิกไปเลยก็เป็นได้นะ ซึ่งนั่นก็อาจรวมถึงหนังที่เราๆ ท่านๆ คิดว่าห่วยขั้นเทพอยู่ด้วย ใครจะไปรู้ล่ะเนอะ อิอิ
ถึงแม้ช่วงนั้นจะเป็นยุครุ่งเรืองของเจ้าพ่อหนังสยองอย่าง ผกก.John Carpenter แต่หนังเรื่องนี้กลับล้มเหลวทั้งด้านรายได้และคำวิจารณ์อย่างสิ้นเชิง เนื่องด้วยดันฉายในช่วงเวลาเดียวกับหนังซูเปอร์มหาเมก้าฮิตติดดาวอย่าง E.T. the Extra-Terrestrial ของป๋า Steven Spielberg (ซึ่งมองการมาเยือนของเอเลี่ยนแบบแง่บวกสุดๆ) แถมยังดันฉายชนวันเดียวกันกับ Blade Runner ของ ผกก.Ridley Scott อีกต่างหาก (เรื่องนี้ตอนออกฉายก็ล้มเหลวพอๆ กัน) โดยหนังเป็นที่พูดถึงแต่ในแง่เอฟเฟกต์สยองที่ทำได้ดีถึงขนาดได้เข้าชิงออสก้าร์ในสาขาเทคนิคพิเศษแต่สุดท้ายก็แห้วรางวัลให้กับ E.T.อีกตามเคย
แต่พอเวลาผ่านไปหนังกลับค่อยๆ ได้รับคำชื่นชมซูฮกมากขึ้นเรื่อยๆ ยามออกจำหน่ายในแบบโฮมวีดีโอจนกระทั่งขึ้นหิ้งหนังคัลต์คลาสสิกไปซะแล้ว และมีการต่อยอดทำสินค้าที่เกี่ยวกับหนังออกมาจำหน่าย ทั้งหนังสือการ์ตูน นิยาย วีดีโอเกม แอคชั่นฟิกเกอร์ และแม้แต่ธีมปาร์คในในสวนสนุกก็มี
ปัจจุบันหนังได้รับการยกย่องและเป็นอิทธิพลให้กับคนทำหนังรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก รวมทั้งติดโผหนังสยองยอดเยี่ยมของหลายสำนัก อาทิ การติดอันดับที่ 17 ของ 'หนังที่น่ากลัวที่สุด' ที่จัดโดย Chicago Film Critics Association และยังติดโผ '500 หนังยอดเยี่ยมตลอดกาล' ของนิตยสาร Empire อีกด้วย
ซึ่งสำหรับเราแล้วคิดว่าเมื่อมาดูหนังเรื่องนี้ในปัจจุบันก็ยังลุ้นระทึกชนิดเย็นยะเยือกได้อยู่เลย ถึงแม้งานด้านเอฟเฟกต์ยุคนั้นจะยังไม่มีซีจีแต่เอฟเฟกต์ทำมือของปรมาจารย์ด้านนี้อย่าง Rob Bottin และ Stan Winston ก็สามารถสร้างความสยองได้ไม่น้อยหน้าหนังสมัยนี้เลยทีเดียว
เห็นกรณีหนังเรื่องนี้แล้วก็เชื่อได้เลยว่าหนังที่ถูกด่าเปิงเจ๊งกระหน่ำในทุกวันนี้ ในอนาคตอาจจะค่อยๆ ได้รับการยอมรับ คำชื่นชมมากขึ้นๆ จนขึ้นหิ้งหนังคลาสสิกไปเลยก็เป็นได้นะ ซึ่งนั่นก็อาจรวมถึงหนังที่เราๆ ท่านๆ คิดว่าห่วยขั้นเทพอยู่ด้วย ใครจะไปรู้ล่ะเนอะ อิอิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น